สถานที่แห่งนี้ มีอนุสาวรีย์

“เจ้าพระยา มหาโยธา นราธิบดี ศรีพิชัยณรงค์”
หรือ “พญาเจ่ง” ต้นตระกูล “คชเสนี”
“พญาเจ่ง” เป็นหลานของพระเจ้าแผ่นดินมอญ องค์สุดท้าย
หลังจากที่มอญ ได้เสียบ้าน เสียเมือง เสียประเทศให้พม่าไปฯ จึงได้อพยพพระราชวงศ์ ขุนนาง ทหาร พ่อค้าคหบดี ที่เหลือ
3,000 ครอบครัว เข้าพึ่งพระบรมโพธิสัมภาร
“สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช”
ให้พักอาศัย ที่เขตสามโคก ปทุมธานี และปากเกร็ด หลังจากนั้นแล้ว ได้นำทหาร 3,000 นาย จาก 3,000 ครอบครัว
ตอบแทนบุญคุณ “สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” ไปเป็น “ทหารอาสาช่วยงานราชการสงคราม กว่าสิบปี
ในการรวบรวมแผ่นดินไทย ได้กว้างใหญ่ไพศาล นับแต่มีประเทศไทยฯ

ประวัติศาสตร์การสร้างอนุสาวรีย์
เกียรติประวัติ “พญาเจ่ง” นอกจากนำทหารหาญ 3,000 นาย ได้อาสาช่วยงานราชการสงครามรวบรวมแผ่นดินไทย ในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีแล้ว
ได้มีส่วนสำคัญ ในการศึกสงครามเก้าทัพ ที่เมืองกาญจนบุรี ในรัชสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อชนะสงครามนั้นแล้ว เป็นเหตุให้ “พญาเจ่ง” ได้สถาปนาเป็น
“เจ้าพระยา มหาโยธา นราธิบดี ศรีพิชัยณรงค์”
อีกทั้งยังรับโปรดเกล้าฯ จาก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑
ให้ย้ายครอบครัวมอญจากสามโคก ไปที่อำเภอพระประแดง ให้เป็นเจ้าเมือง “นครเขื่อนขันธ์” ได้สร้างเมือง สร้างวัดขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก บังคับบัญชาทหารมอญในสังกัด ขึ้นตรงกับพระราชวงศ์จักรีฯ
นับว่าเป็นเกียรติประวัติ อย่างหาที่สุดมิได้ฯ
มีทายาท สืบสกุล รับราชการมาหลายรุ่น จวบจนปัจจุบัน
ได้รับนามสกุลพระราช “คชเสนี” จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ (มีประวัติให้ศึกษาอีกมาก)
จนถึง พุทธศักราช 2561
วัดอัมพุวราราม ร่วมกับ ทายาท “เจ้าพระยามหาโยธา นราธิบดี ศรีพิชัยณรงค์”
มี ท่าน พลเรือเอก สุภา คชเสนี พล.ท. ม.ร.ว. สมชนก กฤดากร พลโท ปรีชา คชเสนี พลเรือตรี ชลี คชเสนี ท่านผู้หญิง บุตรี วีระไวทยะ (กฤดากร)
คุณหญิงวิจันทรา บุญนาค(คชเสนี)
พลเอกวิมล วงศ์วานิช
พลเอกขจร รามัญวงศ์
พลตำรวจโท คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง
ดร.ดิเรก ถึงฝั่ง
พันเอก วีระพล แพทย์ประสิทธิ์(คชเสนี)
พร้อมด้วยสายสกุล “คชเสนี”
ร่วมกับสาธุชนเชื้อสายมอญ ในเมืองไทย
ทุกสายบุญของวัดอัมพุวราราม
ร่วมกันจัดสร้างอนุสาวรีย์ เททองหล่อ “เจ้าพระยา มหาโยธา นราธิบดี ศรีพิชัยณรงค์” และประดิษฐาน ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ณ วัดอัมพุวราราม
